วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 โรคความเครียด (Acute Stress Disorder)


โรคเครียด (Acute Stress Disorder)

โรคเครียด (Acute Stress Disorder) คือ ภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการเครียดประมาณหนึ่งเดือน หากเกิดอาการนานกว่านั้นจะกลายเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ (Posttraumatic Stress Disorder: PTSD)
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight) ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดจะรู้สึกกลัว หวาดระแวง หรือตื่นตระหนกหลังเผชิญสถานการณ์อันตราย ทั้งนี้ อาจรู้สึกวิตกกังวล ว้าวุ่น และฟุ้งซ่าน หรือฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม มนุษย์เราจะประสบภาวะเครียดจากสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ สถานการณ์บางอย่างอาจทำให้คนหนึ่งเกิดความเครียดได้ ในขณะที่อีกคนอาจรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ และไม่รู้สึกเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

สาเหตุโรคเครียด
โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรงมาก โดยเหตุการณ์นั้นทำให้รู้สึกกลัว ตื่นตระหนก หรือรู้สึกสะเทือนขวัญ เช่น การประสบอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิต การได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง รวมทั้งทราบข่าวการเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ หรือการป่วยร้ายแรงของคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคเครียดซึ่งพบได้ทั่วไปนั้น มักเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการออกรบของทหาร ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกโจรปล้น ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือทราบข่าวร้ายอย่างกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัว นอกจากนี้ โรคเครียดยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย โดยผู้ที่เสียงป่วยเป็นโรคเครียดได้สูง มักมีลักษณะ ดังนี้
1.เคยเผชิญเหตุการณ์อันตรายอย่างรุนแรงในอดีต
2.มีประวัติป่วยเป็นโรคเครียดหรือภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ
3.มีประวัติประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง
4.มีประวัติว่าเกิดอาการของโรคดิสโซสิเอทีฟเมื่อเผชิญเหตุการณ์อันตราย เช่น หลงลืมตัวเองหรือสิ่งต่าง ๆ อารมณ์แปรปรวนกะทันหัน วิตกกังวลหรือรู้สึกซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคเครียด
ผู้ที่ผ่านการเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง อาจเกิดอาการของโรคเครียดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยสาเหตุ โดยแพทย์จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้พบหรือได้รับรู้ รวมทั้งสอบถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ทั้งนี้ เมื่อได้รับการตรวจแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการป่วยว่า เกิดจากสาเหตุอื่นหรือไม่ เช่น การใช้สารเสพติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ หากอาการที่ผู้ป่วยเป็นไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น ก็แสดงว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคเครียด

การรักษาโรคเครียด
วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียดอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.ปรึกษาแพทย์ การปรึกษาจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดอาการรุนแรงและเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้
2.บำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดความวิตกกังวลและอาการไม่ดีขึ้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) การบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดว่าความคิดบางอย่างของผู้ป่วยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคเครียดอาจได้รับการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้มองทุกอย่างได้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง
3.ใช้ยารักษา แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคเครียดให้แก่ผู้ป่วยบางราย โดยผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า โดยยาที่ใช้รักษาโรคเครียด ได้แก่
4.เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) ยานี้จะช่วยบรรเทาอาการป่วยทางร่างกายซึ่งเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยรับประทานเมื่อเกิดอาการป่วย เนื่องจากเบต้า บล็อกเกอร์ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาท จึงไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง ส่งผลต่อการทำงานต่าง ๆ หรือทำให้ผู้ป่วยเสพติด
5.ไดอะซีแพม(Diazepam) ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiapines) ซึ่งเป็นยาระงับประสาท แพทย์ไม่นิยมนำมาใช้รักษาผู้ป่วย เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาไดอะซีแพม ซึ่งจะใช้รักษาเป็นระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ยาไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเสพติดยา และประสิทธิภาพในการรักษาเสื่อมลงหากผู้ป่วยใช้ยาดังกล่าวเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ แพทย์อาจจ่ายยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) และยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอื่น ๆ หรือรักษาจิตบำบัดด้วยการสะกดจิต (Hypnotherapy) ซึ่งพบในการรักษาไม่มากนัก ส่วนผู้ป่วยที่เสี่ยงฆ่าตัวตายหรือมีแนวโน้มทำร้ายผู้อื่น จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเครียด
ผู้ที่เกิดความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำควรดูแลตัวเอง โดยหากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง เพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ ผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้
1.โรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยโรคเครียดบางรายอาจมีอาการของโรคนานกว่า 1 เดือน โดยอาการเครียดจะรุนแรงขึ้นและทำให้ดำเนินชีวิตตามปกติได้ยาก ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ป่วยเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงไม่ทำให้อาการของโรคแย่ลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญร้อยละ 50 รักษาให้หายได้ภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นอาจประสบภาวะดังกล่าวนานหลายปี
2.ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเครียดที่ไม่ได้รับการรักษา และมีอาการของโรคเรื้อรังอาจมีปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลหรือบุคลิกภาพแปรปรวน

การป้องกันโรคเครียด
โรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยากเนื่องจากสถานการณ์อันตรายอันเป็นสาเหตุของโรคเครียดนั้น ควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเครียดดูแลตนเองและจัดการอาการของโรคไม่ให้แย่ลงได้โดยปฏิบัติดังนี้
1.หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อช่วยลดโอกาสป่วยเป็นโรคเครียด
2.ผู้ที่ประกอบอาชีพซึ่งเสี่ยงเผชิญสถานการณ์อันตราย เช่น ทหาร อาจต้องเข้ารับการฝึกซ้อมรับมือเหตุการณ์อันตรายและปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวและลดโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรคเครียด
3.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
4.ฝึกหายใจลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวด เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย รวมทั้งทำจิตใจให้แจ่มใส
5.พบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือพูดคุยกับครอบครัว
6.หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง
7.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
8.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆ

สัญญาณของความเครียด

อาการทางจิตใจ
1.ซึมเศร้า หดหู่ หมดหวัง
2.รู้สึกแย่เกี่ยวกับตนเอง รู้สึกไร้ค่า ขาดความมั่นใจ
3.หลีกหนีสังคม หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือพบปะผู้คน
4.กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์
5.ไม่สามารถผ่อนคลายอารมณ์ได้ หรือสงบจิตใจลงได้ยาก
6.ควบคุมตนเองไม่ได้ หรือควบคุมตนเองได้ไม่ดี

อาการทางร่างกาย
1.ปวดหัว
2.นอนไม่หลับ
3.ไม่มีเรี่ยวแรง พลังงานต่ำ
4.กัดฟันแน่น ขากรรไกรตึง
5.ปากแห้ง กลืนอาหารลำบาก
6.ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน
7.เจ็บ ปวด หรือรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
8.เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว
9.มือเย็น เท้าเย็น หรือมีเหงื่อออกมากที่มือและเท้า
10.ป่วยเป็นหวัด หรือมีอาการจากการติดเชื้อต่าง ๆ บ่อย ๆ
11.ตื่นตระหนก ตัวสั่น ได้ยินเสียงแว่วในหู
12.ไม่มีความต้องการ หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อาการด้านการรู้คิด
1.ขี้หลงขี้ลืม
2.วิตกกังวลอยู่เสมอ
3.ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดเรื่องใดได้นาน
4.มีความคิดตีกันอยู่ในหัว
5.จัดระบบความคิดได้ไม่ดี
6.คิด พิจารณา หรือตัดสินใจได้ไม่ดี
7.มองโลกแง่ร้าย มองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ

อาการด้านพฤติกรรม
1.เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ไม่อยากกินอะไรเลย หรือกินมากเกินไป
2.มีพฤติกรรมที่เป็นผลจากระบบประสาท อารมณ์ และความคิด เช่น การเดินไปเดินมา หลุกหลิกอยู่ไม่นิ่ง อยู่กับที่นาน ๆ ไม่ได้ กัดนิ้ว เป็นต้น
3.ขาดความรับผิดชอบ หลีกเลี่ยงงานหรือภาระหน้าที่ ผัดวันประกันพรุ่ง
4.ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ใช้ยาหรือสารเสพติดมากขึ้น สูบบุหรี่จัดขึ้น

เครียดแล้วมีผลต่อร่างกายอย่างไร ?
เมื่อคนเราเผชิญกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการ ความคิด หรือพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดนั้น ในบางกรณี ความเครียดที่เกิดขึ้นก็เป็นผลดีต่อร่างกาย เช่น หากอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงหรือน่าตื่นเต้น ชีพจรจะเต้นแรง หายใจเร็ว กล้ามเนื้อตึง สมองใช้ออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลไกในการปรับสมดุลเพื่อการอยู่รอด โดยกระบวนการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
แต่หากเป็นความเครียดเรื้อรังที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างยาวนาน แม้เป็นกระบวนการหลั่งสารเคมีตัวเดียวกัน แต่จะส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาที่เกินกว่าเพียงเพื่อปรับสมดุลเพื่อการอยู่รอดในชั่วขณะนั้น อย่างระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้น้อยลง ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายหรือระบบสืบพันธุ์ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและยิ่งเกิดความเครียดเป็นระยะเวลานานเท่าใด ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ประเภทของความเครียดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ได้แก่
1.ความเครียดเป็นกิจวัตร ที่เกี่ยวข้องกับความกดดันจากครอบครัว การทำงานและภาระรับผิดชอบในแต่ละวัน
2.ความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านลบอย่างกะทันหัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง การเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ
3.ความเครียดที่เกิดจากเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก เช่น อุบัติเหตุร้ายแรง ประสบภัยธรรมชาติ ผ่านประสบการณ์ในสงคราม หรือเป็นเหยื่อในเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดแต่ละประเภทในรูปแบบอาการที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจมีอาการส่วนใหญ่ในระบบย่อยอาหาร ในขณะที่บางคนอาจปวดหัว มีปัญหาการนอนหลับ ขี้หงุดหงิด หรือมีอารมณ์ซึมเศร้า โดยผู้เผชิญความเครียดอย่างเรื้อรังเหล่านี้ จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการป่วยด้วยการติดเชื้อไวรัส อย่างเป็นไข้หวัดหรือมีอาการหวัดบ่อยและรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้วัคซีนไข้หวัดมีประสิทธิผลทางการรักษาที่ลดต่ำลงไปด้วย
ความเครียดจากกิจวัตรประจำวัน เป็นประเภทของความเครียดที่สังเกตสัญญาณของอาการได้ยากที่สุด และจะสามารถเกิดขึ้นและส่งผลกระทบในระยะยาวได้มากกว่าความเครียดแบบกะทันหันหรือความเครียดจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ โดยความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ ดังนี้
1.ปัญหาสุขภาพจิต: ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และโรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
2.ปัญหาประจำเดือน: รอบการมีประจำเดือนยาวนานหรือสั้นกว่าปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
3.ปัญหาผิวหนังและรูขุมขน: เกิดสิว ผื่น ผิวหนังอักเสบ (Eczema) สะเก็ดเงิน และผมร่วงศีรษะล้านถาวร
4.ปัญหาระบบทางเดินอาหาร: โรคกรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน
5.สมรรถภาพทางเพศ: เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว ไม่มีความต้องการทางเพศ
6.โรคความผิดปกติของพฤติกรรมการกิน: โรคคลั่งผอมอะนอเร็กเซีย (Anorexia) ที่ผู้ป่วยมักอดอาหารและออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อลดน้ำหนักและทำให้ตนเองผอม โรคบูลิเมีย (Bulimia) ที่ควบคุมการกินไม่ได้ โดยผู้ป่วยจะกินมากผิดปกติก่อนจะชดเชยด้วยการอาเจียนหรือรีบทำให้อาหารที่กินไปออกมาจากร่างกายในภายหลัง โรคกินมากผิดปกติ (Binge Eating Disorder) โดยผู้ป่วยกินอาหารปริมาณมากและไม่สามารถควบคุมการกินของตนเองได้เป็นช่วง ๆ
7.โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด: ความดันโลหิตสูง โรคความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตัน

 เคล็ดไม่ลับ รับมือความเครียด
ความเครียดสามารถเป็นเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้หากถูกปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงควรเรียนรู้วิธีรับมือจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เพื่อผ่อนคลายความเครียดให้บรรเทาลง และผ่านพ้นช่วงเวลาที่ตึงเครียดไปได้ด้วยดี
วิธีการรับมือกับความเครียดที่ควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ได้แก่
1.สังเกตปฏิกิริยาทางร่างกายที่ตอบสนองต่อความเครียด สัญญาณสำคัญที่อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิด โกรธง่าย พลังงานต่ำ มีปัญหาในการนอน ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ยาหรือสารเสพติด
2.หลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาอย่างผิดวิธี ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด หรือใช้ผลข้างเคียงของยารักษาในทางที่ผิดเพื่อบรรเทาความเครียด
3.วางแผนจัดการกับความเครียดด้วยตนเอง การวางแผนจัดการกับความเครียด ควรทราบก่อนว่าสิ่งใดที่เป็นปัจจัยก่อความเครียด หากยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เครียด ให้จดบันทึกเกี่ยวกับความเครียดในช่วงเวลา 2-4 สัปดาห์ แล้วจึงทบทวนว่าสาเหตุของความเครียดที่กำลังเผชิญคืออะไร สิ่งที่ต้องจดลงในบันทึกความเครียด ได้แก่ วันที่ เวลา และสถานที่ที่เกิดความเครียด สิ่งที่กำลังทำในขณะนั้น คนที่อยู่ด้วยในขณะนั้น ความรู้สึกและความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จากนั้นทำอะไรต่อ มีอาการทางร่างกายอย่างไร แล้วให้คะแนนระดับความเครียดที่เกิดขึ้นจาก 0-10 (ไม่เครียด-เครียดมากที่สุด) หลังจากจดบันทึกแล้ว ให้ทบทวนว่าสาเหตุที่ทำให้เครียดคืออะไร จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร แล้ววางแผนรับมือว่าจะทำอย่างไรเมื่ออยู่ภายใต้ความกดดันเหล่านั้นที่ทำให้เกิดความเครียด
4.จัดลำดับความสำคัญ เรียงลำดับและคัดแยกสิ่งที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับต้น ๆ กับสิ่งที่สามารถทำทีหลังได้ จดบันทึก วางแผนการทำงาน แล้วปฏิบัติตามกำหนดการที่วางแผนไว้ โดยรู้จักที่จะปฏิเสธภาระงานหรือความรับผิดชอบที่เกินกำลัง หรือมีปริมาณมากเกินกว่าจะบริหารเวลาได้ตามกำหนด เมื่อทำงานเสร็จก็บันทึกสิ่งที่ทำสำเร็จลุล่วงไปแล้ว ไม่ควรพะวงหรือลงบันทึกเกี่ยวกับงานที่ไม่สามารถทำได้
5.กำลังใจ และการสนับสนุนทางอารมณ์จากบุคคลใกล้ชิด เป็นหนึ่งในเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ผู้ซึ่งกำลังตกอยู่ในภาวะตึงเครียดได้ผ่อนคลายและรู้สึกดีขึ้น โดยสามารถพูดคุย ปรึกษา ระบายปัญหา หรือหาวิธีผ่อนคลายความเครียดร่วมกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก
6.รู้จักปล่อยวาง ไม่จมอยู่กับปัญหา ยอมรับในสิ่งที่ต้องเผชิญว่าในบางครั้งก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ หากไม่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง หรือมีความเครียดและเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถหาวิธีผ่อนคลายได้ด้วยตนเอง ควรไปปรึกษาบุคคลใกล้ชิดและผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์
7.ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพ และถูกสุขอนามัย การมีสุขภาพดีจะส่งผลดีต่อระบบของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ และมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรง แล้วควรหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ดูหนัง ฟังเพลง หรือออกไปท่องเที่ยวพักผ่อนนอกบ้านบ้าง เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 นาทีต่อวัน การออกกำลังกายจะช่วยปรับอารมณ์และผ่อนคลายความเครียดลงได้ อาจทำกิจกรรมง่าย ๆ ที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ อย่างการเดิน การเล่นโยคะ หรือไทเก๊ก รวมไปถึงการทำสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออก การหายใจเข้าลึก ๆ จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลง
8.ขอความช่วยเหลือ หากไม่สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง ต้องใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติดแก้ปัญหา หรือเคยมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวที่ทุกข์ใจและทำให้เกิดความเครียด หรือเข้าร่วมกลุ่มบำบัดสนับสนุนภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ ชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา การวางแผนรับมือและบรรเทาความเครียด และรับกำลังใจสนับสนุนซึ่งกันและกันภายในกลุ่มบำบัด
9.หาวิธีรักษา ทั้งอาการป่วยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียด และอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด เช่น ปวดหัว สามารถกินยากลุ่มยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอลและไอบูโพรเฟนเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ นอนไม่หลับ ควรปรับเปลี่ยนวิสัยการนอนและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับอย่างการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จำพวกชาหรือกาแฟ หากท้องเสีย ควรดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไปและป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
ส่วนอาการด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม สามารถฝึกปรับอารมณ์ ความคิด หรือพฤติกรรมให้เหมาะสมได้ด้วยตนเอง หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาตามขั้นตอน ทั้งการเข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) โดยวิธีการนี้สามารถใช้บำบัดโรคความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน อย่างอะนอเร็กเซียและบูลิเมีย และยังสามารถบำบัดผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน อย่างอาการนอนไม่หลับได้ด้วย  
การรับยารักษาที่ต้องใช้ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น เช่น ภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล แพทย์อาจจ่ายยาต้านเศร้า (Antidepressant) ซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมอง อย่างเซโรโทนินและนอร์อะดรีนาลีน ช่วยปรับอารมณ์ความรู้สึกแก้ปัญหาความหดหู่ซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่เกิดจากความเครียด หรือยารักษาภาวะวิตกกังวล (Antianxiety) ที่ใช้ลดความวิตกกังวลจนทำให้เกิดความเครียด
ความเครียดเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิต แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดเหมือนอาการป่วย แต่การรู้จักจัดการบริหารความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน จะทำให้สามารถเรียนรู้ทักษะที่จะอยู่และรับมือกับความเครียดได้ในโอกาสต่อ ๆ ไป เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและความสุขในการดำเนินชีวิต


งานวิจัย




วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงาน 4 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พรบคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้

ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้

เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

กรณีศึกษา: การทำผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
เคสแรก เป็นเคสที่ออกข่าวอย่างโด่งดังเช่นกัน เป็นกรณีที่มีชายหนุ่มคนหนึ่งถ่ายรูปตึกที่มีลักษณะเอนๆ พร้อมโพสต์ข้อความประมาณว่า ตึกทรุดตัว ลงบนเฟสบุ๊ค เลยทำให้เกิดเป็นประเด็นที่หลายเอาตกอกตกใจไปกันใหญ่ แต่ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่า ตึกที่เห็นนั้นเป็นเพียงดีไซน์ของตึกที่ตั้งใจจะให้เอนแบบนั้นอยู่แล้ว เลยทำให้เจ้าของโพสต์ถูกตำรวจเรียกสอบสวน เพราะเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 (2) นำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จก่อให้เกิดความตื่นตระหนก
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
อีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็สามารถช่วยคุ้มครองผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตได้ด้วย อย่างเช่นกรณีคดีของคุณบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44
ซึ่งคุณบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องความเป็นธรรมต่อศาลว่า ปัจจุบันได้มีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แล้ว โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ผลก็คือ อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
พรบ คอมพิวเตอร์ โดนแฮก
หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ค่ะ
บทลงโทษ
  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ
บทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ

บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย

  • 6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ
  • โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
  • โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
  • เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )

บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)

กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด


บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พรบคอมพิวเตอร์
Cr:https://f.ptcdn.info/960/053/000/

 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560
มีผลบังคับใช้ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (120 วันตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา)
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ 2560 มีทั้งหมด 21 มาตรา

สรุปสาระสำคัญที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรรู้
- ผู้ใดส่งอีเมล์ให้แก่บุคคลอื่นก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญ โดยไม่สามารถบอกเลิกหรือแจ้งยกเลิกได้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

- การกระทำความผิด เป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท

- ถ้าเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-4 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท

- การกระทำความผิด เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

- การกระทำความผิด โดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท
- ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่ 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 - ทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

 - นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเกิดความเสียหายต่อประเทศ

 - นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

 - นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีลักษณะอันลามก
 - เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าผิดตามข้อ 1,2,3,4
 - ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด รับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
- ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ภาพของผู้อื่น นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

- กระทำต่อภาพของผู้ตาย และการกระทำนั้นน่าจะทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

- สามารถยอมความได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สรุป พรบ คอมพิวเตอร์ 2560

กิจกรรมที่3 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ 1.การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา  โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โด...